Argumentative Essay คือ อะไร?
แหล่งข้อมูล ของบทความ Argumentative Essay คือ “การเขียนเพื่อโต้แย้ง” — [1], [2], [3]
Argumentative Essay คือ การเขียนเพื่อโต้แย้ง ผมคิดว่านี่คือความหมายพื้นฐานที่สุดของ Essay ชนิดนี้ครับ ผมเจอรายละเอียดเกี่ยวกับการเขียนโต้แย้ง ในบทเรียนออนไลน์ วิชาภาษาไทย (ม.3) ซึ่งถ้าไม่เจอข้อมูลนี้ ผมก็ลืมไปแล้วนะครับ ว่า (อาจจะ) เคยได้เรียนเกี่ยวกับการเขียนโต้แย้งมาตั้งแต่สมัยอยู่ ม.3 แล้ว ผมเดาเอาเบื้องต้นนะครับ ว่าเพื่อน ๆ ที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ ก็อาจจะลืมไปแล้วว่าเคยเรียนมา อย่างไรก็ตามครับ ไม่ว่าจะเป็น Argumentative Essay ก็ดี หรือจะเป็น การเขียนโต้แย้ง (ตามหลักวิชาภาษาไทยที่มีในบทเรียน ม.3) ก็ดี หัวใจสำคัญของการเขียนชนิด เป็นดังนี้ครับ:
Argumentative Essay (หรือ การเขียนโต้แย้ง) คือ การเขียนแสดงความคิดเห็นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อโต้แย้งข้อเท็จจริง หรือ ความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ว่าจะเกี่ยวกับ คน สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ หรือ อื่น ๆ ด้วยการนำเสนอความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ โดยจะสอดแทรกเหตุผล มีข้อพิสูจน์ หรือ การอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ หรือไม่ก็ได้ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เพื่อสื่อให้ผู้อ่านทราบได้ว่าผู้เขียนมีความคิดเห็นอย่างไร
ผมเจอในบทความหนึ่งครับ ซึ่งอธิบายความหายของ Argumentative Essay ได้ชัดเจนเลยทีเดียว บทความนี้กล่าวว่า:
Argumentative Essay คือ ประเภทของการเขียน ที่ต้องการให้ผู้เขียน ศึกษาหัวข้อ รวบรวม และ ประเมินข้อมูลอ้างอิง ตลอดจน กำหนดจุดยืน (Position) ของตนเอง ในหัวข้อดังกล่าวอย่างชัดเจน
ผู้เขียนทั่วไป โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา อาจเกิดความสับสนระหว่าง Argumentative Essay และ Expository Essay เพราะว่า Essay ทั้งสองประเภทนี้มีความคล้ายคลึงกันอยู่นะครับ แต่ Argumentative Essay แตกต่างจาก Expository Essay ในเชิงการค้นหาข้อมูลในขั้นตอน Pre-Writing และ การวิจัยที่เกี่ยวข้องครับ โดยทั่วไปในการศึกษาในปัจจุบัน นักศึกษาจะได้รับมอบหมายให้เขียน Argumentative Essay ในปีแรก ๆ ที่เรียน หรือ ในหลักสูตรการเขียนขั้นสูง ตลอดจนการเตรียมตัวเพื่อการทำวิจัยที่มีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะ ส่วน Expository Essay นั้น จะเกี่ยวข้องกับการวิจัยน้อยกว่า และ โดยส่วนใหญ่มักสั้นกว่าในด้านปริมาณ
โดยทั่วไป ในการเขียน Argumentative Essay ผู้เขียนจะต้องทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) หรือ ศึกษางานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ครับ การเขียน Essay ชนิดนี้มักต้องมีการทบทวนการวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical Research) ซึ่งเป็นการวิจัยที่มีการรวบรวมข้อมูล สำรวจ สังเกต หรือ ทดลอง ให้ได้มาซึ่งผลการวิจัย การวิจัยเหล่านี้ช่วยให้ผู้เขียน Argumentative Essay สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ และ ศึกษามุมมองหรือจุดยืนที่แตกต่างกันในหมู่นักวิจัย อันเกี่ยวกับหัวข้อที่กำลังเขียนอยู่ ทำให้สามารถกำหนดจุดยืนของตนเองในหัวข้อดังกล่าวได้ และเมื่อกำหนดจุดยืนของตนเองได้แล้ว จะต้องมีการสนับสนุนจุดยืนด้วยข้อมูลอ้างอิงที่รวบรวมได้จากการวิจัยเหล่านี้ครับ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะรวบรวมข้อมูลมาจากแหล่งใดก็ตาม ผู้เขียนต้องระบุ “คำแถลงวิทยานิพนธ์ของ Essay” (แก่น) หรือ Thesis Statement ที่ชัดเจน แล้วจึงเสนอเหตุผลอย่างเหมาะสมครับ
“คำแถลงวิทยานิพนธ์” หรือ Thesis Statement คือ ข้อความที่กำหนด “แก่น” ของงานเขียนของเรา ซึ่งมักถูกจัดวางในบทนำ (Introduction) ทำหน้าที่รวมจุดเน้น (Focus) ของงานเขียน เพื่อบอกผู้อ่านว่าเนื้อหาของงานเขียนนี้เกี่ยวกับอะไร Thesis Statement แสดงถึงประเด็นหลักที่กำลังจะได้รับการอภิปราย เป็นการบอกจุดยืนของผู้เขียนในหัวข้อที่เขียน เป็นการจำกัดขอบเขตเนื้อหา อย่างไรก็ตาม หากผู้เขียนไม่ระบุ Thesis Statement ของ Essay ที่ตนเองกำลังเขียน เนื้อหาของ Essay จะขาดทิศทาง และมักจะไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการสื่อ โดยทั่วไป Thesis Statementประกอบด้วย 1–2 ประโยค ในบางครั้ง ผู้เขียนอาจระบุ Thesis Statement แบบนัย ๆ ไม่ได้บอกไปตรง ๆ ก็ได้ครับ ซึ่งก็แล้วแต่อีกเหมือนกัน ว่าต้องการให้ออกมาในลักษณะใด แต่สิ่งที่สำคัญคือ จะต้องมี Thesis Statement ในการเขียนทุกครั้งครับ
สิ่งสำคัญใน Argumentative Essay
1. บทนำ (Introduction) และ คำแถลงวิทยานิพนธ์
ในย่อหน้าแรก หรือ บทนำ ของ Argumentative Essay ผู้เขียนควรกำหนดบริบทของเนื้อหา ด้วยการเขียนอธิบายหัวข้อด้วยถ้อยคำที่เข้าใจง่ายก่อน แล้วจึงเขียนอธิบายว่าเหตุใด หัวข้อที่กำลังเขียนอยู่นี้ จึงมีความสำคัญ หรือ เหตุใดผู้อ่านจึงควรให้ความสนใจหัวข้อนี้ จากนั้นครับ ให้เขียนคำแถลงวิทยานิพนธ์ (ผมไม่ชอบเรียกแบบนี้เลยครับ มันเวิ่นเว้อ) หรือ Thesis Statement โปรดจำไว้นะครับว่า Thesis Statement มีความสำคัญอย่างยิ่ง หากผู้เขียนไม่เชี่ยวชาญในส่วนนี้ Essay ของคุณจะมีประสิทธิภาพลดลง หรือ โน้มน้าวใจผู้อ่านได้ยากครับ
2. การส่งผ่าน (Transition) ระหว่างย่อหน้า
ผมเปรียบการส่งผ่าน หรือ Transition ระหว่างย่อหน้า เป็น “กาว” ที่ยึดส่วนต่าง ๆ ของ Argumentative Essay (บทนำ เนื้อเรื่อง และ บทสรุป) ไว้ด้วยกันครับ หากการดำเนินเรื่องไม่มีเหตุผล ไม่มีตรรกะ ผู้อ่านจะไม่สามารถติดตามข้อโต้แย้งที่คุณพยายามนำเสนอได้ ที่ร้ายไปกว่านั้น คือ Essay นี้จะพังทลายลงเพราะโครงสร้างไม่แข็งแรงครับ การส่งผ่านระหว่างย่อหน้าจำเป็นจะต้องมีการสรุปแนวคิดจากส่วนก่อนหน้า และ การแนะนำแนวคิดที่จะตามมาในส่วนถัดไปครับ
3. เนื้อเรื่อง (Body)
ในส่วนของเนื้อเรื่อง หรือ Body นั้น แต่ละย่อหน้าควรอภิปรายประเด็นใดประเด็นหนึ่งเท่านั้น และประเด็นนั้น ต้องสนับสนุนคำแถลงวิทยานิพนธ์โดยตรง พร้อมระบุข้อมูลอ้างอิงที่รวบรวมระหว่างการวิจัย ทั้งนี้ครับ เพื่อช่วยให้เกิดความชัดเจน และ สร้างทิศทางของเนื้อหา การจำกัดการอภิปรายเพียงหนึ่งประเด็นต่อหนึ่งย่อหน้าช่วยกระชับเนื้อหา สร้างความสะดวกในการอ่าน สิ่งที่ลืมไม่ได้เลยก็คือ การส่งผ่านที่ดีเพื่อเชื่อมต่อตรรกะของประเด็นถัดไปที่ต้องการอภิปราย ในส่วนของข้อมูลอ้างอิงนั้น ผู้เขียนต้องต้องอธิบายว่าข้อมูลนั้นสนับสนุนคำแถลงวิทยานิพนธ์อย่างไร
ผมขอเสริมในเรื่องที่สำคัญไม่แพ้ส่วนใด ๆ คือ ใน Argumentative Essay นั้น ผู้เขียนจะต้องพิจารณาและอธิบายมุมมองที่แตกต่างจากจุดยืนของตนเอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้นด้วย ดังนั้น ควรมีสัก 1–2 ย่อหน้าสำหรับการอภิปรายความคิดเห็นอื่น ๆ ที่ขัดแย้งกับจุดยืนของผู้เขียน หลังจากนั้น ไม่ใช่ว่าอยู่ ๆ ก็บอกว่าความคิดเห็นที่แตกต่างกันเหล่านี้ผิด หรือ ไม่มีเหตุผล โดยสิ้นเชิง ผู้เขียนควรตั้งข้อสังเกตว่าความคิดเห็นที่แตกต่างเหล่านั้นไม่สอดคล้องกับจุดยืนของผู้เขียนอย่างไร เช่น ล้าสมัย เป็นต้น
4. ข้อมูลอ้างอิง (Reference)
ข้อมูลที่นำมาอ้างอิงใน Argumentative Essay ต้องเป็นข้อมูลที่ได้รับการวิจัยอย่างดี ถูกต้อง มีรายละเอียด และ เป็นปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนจุดยืน และ คำแถลงวิทยานิพนธ์ครับ ผู้เขียนสามารถอ่างอิงข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ตรรกะ สถิติ หรือ ประวัติ มาสนับสนุน Argumentative Essay ได้ครับ แต่ต้องพิจารณาหลาย ๆ มุมมองในขณะที่รวบรวมข้อมูลอ้างอิง ดังที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้ครับ ว่า Argumentative Essay (ที่ดี) ต้องกล่าวถึงความคิดเห็นแตกต่างด้วย ไม่ใช่หน้าที่ของผู้เขียนที่จะต้องระบุหรือแสดงให้เห็นว่าจุดยืนของคนอื่น ๆ ผิดหรืออย่างไร แต่ควรอธิบายว่าจุดยืนอื่น ๆ อาจไม่สอดคล้องกับจุดยืนของผู้เขียน และ/ หรือ ล้าสมัยไปแล้ว เป็นต้น
5. บทสรุป (Conclusion)
บทสรุปที่มีประสิทธิภาพของ Argumentative Essay จะไม่เป็นเพียงการ Restate คำแถลงวิทยานิพนธ์ครับ แต่เป็นการกล่าวถึงคำแถลงวิทยานิพนธ์โดยสอดแทรกข้อมูลอ้างอิงที่เขียนอธิบายไว้ในเนื้อเรื่อง เมื่อเขียนถึงบทสรุป ผู้เขียนหลาย ๆ คนอาจเขียนไม่ออก แต่จุดนี้สามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้อ่านได้เป็นอย่างมาก ดังนั้นจะต้องเขียนออกมาให้มีเหตุผล ห้ามนำเสนอข้อมูลใหม่ใด ๆ ในบท แต่จงสังเคราะห์ข้อมูลที่นำเสนอในเนื้อหาของ Essay ทบทวนเหตุผล ความสำคัญ ทบทวนประเด็นหลัก และ ทบทวนคำแถลงวิทยานิพนธ์ ผู้เขียนควรสรุปรวมการอภิปรายในประเด็นต่าง ๆ อย่างสั้น ๆ ครับ
Argumentative Essay — การโต้แย้งที่สมบูรณ์
การเขียน Essay เป็นเหมือนการสนทนาหรือการถกเถียงกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน นั่นล่ะครับ ถ้าเราสนทนากันเกี่ยวกับสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สองและผลกระทบในปัจจุบันต่อผู้ที่ประสบกับเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้น การสนทนามักจะมีการพูดถึงการเริ่มต้นของสงคราม สิ่งที่เกิดขึ้นท่ามกลาง และ การสิ้นสุดของสงคราม ในความเป็นจริงครับ ถ้าเราจะยุติการสนทนาในขณะที่กำลังพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นท่ามกลางสงครามโลกครั้งที่สอง เราคงจะมีคำถามคาใจเกี่ยวกับผลกระทบในปัจจุบัน ดังนั้นครับ Argumentative Essay ที่สมบูรณ์และมีเหตุผล ต้องมีให้ครบส่วนที่กล่าวมา
บทความโดย ทีมนักเขียน HW
Academic Writing Experts
LINE id: @orderwork
🆕 Live Chat 💬 คลิ๊กที่นี่
Facebook Messenger 📱 คลิ๊กที่นี่
📖 คลิ๊กเพื่ออ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
HW ให้บริการ รับทำ Argumentative Essay |