ใส่ Reference โดยใช้ Microsoft Word อย่างถูกต้อง ทำได้ง่ายมาก

การใส่ Reference โดยใช้ Microsoft Word

ใส่ Reference โดยใช้ Microsoft Word วิธีการใส่เอกสารอ้างอิง หรือ บรรณานุกรม เป็นการอ้างอิง Reference ในเนื้อหาและส่วนท้ายบทความหรือท้ายเล่ม ผู้เขียนบทความจะต้องรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ได้ใช้อ้างอิงในผลงานของตน หรือ รายการเอกสารอ้างอิง (References List) หรือ บรรณานุกรม (Bibliography) เอกสารอ้างอิง เป็นการรวบรวมเฉพาะรายการเอกสารที่ถูกอ้างไว้ในส่วนเนื้อเรื่องเท่านั้น ดังนั้นจำนวนรายการเอกสารที่อ้างอิงในส่วนท้ายเรื่องจึงต้องมีจำนวนเท่ากันกับที่ถูกอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนบรรณานุกรม เป็นการรวบรวมรายการเอกสารที่ใช้อ้างอิงในส่วนเนื้อหาทั้งหมด รวมทั้งรายการเอกสารอื่นที่มิได้อ้างไว้ในส่วนเนื้อเรื่องมารวบรวมไว้ก็ได้ หากเห็นว่าเอกสารนั้นมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียนและจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ดังนั้นจำนวนรายการเอกสารที่อ้างอิงในส่วนท้ายเรื่องจึงอาจมีมากกว่าจำนวนที่ถูกอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง

ใส่ Reference โดยใช้ Microsoft Word - FI

นอกจาก APA, Harvard หรืออื่นๆ ที่เป็นที่นิยมแพร่หลาย ยังมีรูปแบบ Bibliography ที่ MS Office ไม่ได้มีให้มา (เช่น ABNT, ACM, ACS, AMA, ASA, CSE, Harvard AGPS – Anglia – Exeter – Leeds, IEEE, LNCS, MHRA, Nature, และ Vancouver) แต่ท่านสามารถ Download และติดตั้งเองได้ครับ (ไฟล์) (วิธีติดตั้ง) [ขอขอบคุณ BibWord ครับ]

🆕 ใหม่ล่าสุด APA7 (APA 7th Edition, October 2019) Download ที่นี่ ครับ (วิธีติดตั้ง)

ใส่ Reference ใน Microsoft Word Document

การ ใส่ Reference โดยใช้ Microsoft Word อย่างถูกต้องนั้น ทำได้ไม่ยากเลยครับ หลังพิมพ์ข้อความแล้ว และ เตรียมข้อมูล Source ที่ต้องการอ้างอิงไว้แล้ว (เช่น Authors’ Name, Year, Title, Journal Name, Volume/ Issue, Pages, และ DOI) มาเริ่มกันเลยครับ:


1. ไปที่ Tab “References”

ใส่ Reference โดยใช้ Microsoft Word - 001


2. เลือก Reference Style

ใส่ Reference โดยใช้ Microsoft Word - 002


3. เริ่มใส่ In-text Citation

ขั้นตอนแรก Click ที่ท้ายประโยค ก่อน Full Stop (หรือ ที่ใดก็ตามที่ต้องการใส่ In-text Citation) ครับ

ใส่ Reference โดยใช้ Microsoft Word - 003

หลังจากนั้น Click ที่ “Insert Citation” แล้วต่อด้วย “Add New Source” ครับ

ใส่ Reference โดยใช้ Microsoft Word - 004


4. ใส่รายละเอียด Reference 

ขั้นตอนแรก Click เลือก “Type of Source” ก่อนนะครับ เช่น ถ้าแหล่งอ้างอิงมากจาก Journal of Applied Research in Quality of Life ก็เลือก “Journal” ครับ

หลังจากนั้น เริ่มใส่รายละเอียดต่างๆ ของ Reference ได้เลยครับ

ถ้า Authors มีหลายคน คั่นชื่อแต่ละคนด้วยเครื่องหมาย “;” (Semicolon) นะครับ

เมื่อใส่ครบถ้วนแล้ว Click ที่ “OK” ครับ

ใส่ Reference โดยใช้ Microsoft Word - 005

เมื่อ Click ที่ “OK” แล้ว In-text Citation จะปรากฎดังภาพต่อไปนี้ครับ

ใส่ Reference โดยใช้ Microsoft Word - 006


5. สร้างบรรณานุกรม (Bibliography) ท้ายเล่ม

ขั้นตอนแรก Click ตำแหน่งของหน้ากระดาษที่ต้องการวาง Bibliography

หลังจากนั้น Click ที่ “Bibliography” ครับ

ใส่ Reference โดยใช้ Microsoft Word - 007

Click เลือก “Built-in Bibliography” ตามที่ต้องการได้เลยครับ

ใส่ Reference โดยใช้ Microsoft Word - 008


เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ 🏁

สมบูรณ์ทั้ง In-text Citation และ Bibliography และ ถูกต้องตาม Reference Style Format ครับ

ใส่ Reference โดยใช้ Microsoft Word - 009.png


รูปแบบการอ้างอิงที่เป็นที่นิยม APA ใน Microsoft Word 

จากบทความที่เขียนลงในวารสาร ปี ค.ศ. 1929 มีการออกแบบมาตรฐานสำหรับการสื่อสารของนักวิชาการของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) นั่นคือการจัดทำคู่มือการลงรายการสิ่งพิมพ์ของ APA หรือเรียกว่า “Publication Manual of the American Psychological Association” ผู้ที่มาร่วมพิจารณาจัดทำคู่มือมีทั้งนักจิตวิทยา นักมานุษยวิทยา และนักบริหารจัดการ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสภาวิจัยแห่งชาติ (National Research Council) โดยพวกเขาพยายามหารูปแบบ (style) กฎเกณฑ์ที่ไม่ยุ่งยากสำหรับการเขียนอ้างอิงในเนื้อหา และการเขียนอ้างอิงท้ายเล่ม โดยระบุหน่วยข้อมูลที่สำคัญ เพื่อสะดวกในการสืบค้นข้อมูลสำหรับการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยต่อไป (APA, 2010, pp. xiii – xiv) ปัจจุบัน รูปแบบ APA (APA Style) กำหนดรูปแบบมาตรฐานในวารสาร หนังสือ และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ Publication Manual of the American Psychological Association มีการปรับปรุงตลอดมา โดยมีกรรมการมาจากกลุ่มวิชาชีพต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ฉบับล่าสุด เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 พิมพ์/ลิขสิทธิ์ ค.ศ. 2010 (APA, 2010, p. xv)

งานเขียนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารวิชาการ บทความ ตำรา วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ และหนังสือวิชาการ หรืองานวิจัย เป็นการศึกษา ค้นคว้า ที่นำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในงานเขียนของผู้เขียนอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้เขียนต้องระบุหลักฐานแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาอ้างอิง การเขียนอ้างอิงในงานเขียนมี 2 รูปแบบ คือ การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา โดยอาจจะระบุแหล่งหน้าข้อความที่นำมาอ้างอิง หรือท้ายข้อความที่ยกมาอ้างอิง และการเขียนรายการอ้างอิงท้ายเล่ม ซึ่งอาจจะเรียกว่า “หนังสืออ้างอิง” หรือ “Reference List หรือ Reference” ซึ่งในกรณีนี้ รายการอ้างอิงในเนื้อหา จะต้องมีรายละเอียดในรายการ หนังสืออ้างอิง ทุกรายการ ส่วนรายการอ้างอิงท้ายเล่มที่เรียกว่า “บรรณานุกรม” หรือ “Bibliography” นอกจากมีรายละเอียดของรายการที่อ้างอิงในเนื้อหาทุกรายการแล้ว ผู้เขียนสามารถนำรายการบรรณานุกรมมาเพิ่มเติมได้อีก ซึ่งอาจจะไม่ปรากฏในเนื้อหา

APA Citation Style โดยใช้ Microsoft Word 

เอกสารอ้างอิง เป็นการรวบรวมเฉพาะรายการเอกสารที่ถูกอ้างไว้ในส่วนเนื้อเรื่องเท่านั้น ดังนั้นจำนวนรายการเอกสารที่อ้างอิงในส่วนท้ายเรื่องจึงต้องมีจำนวนเท่ากันกับที่ถูกอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง บรรณานุกรม เป็นการรวบรวมรายการเอกสารที่ใช้อ้างอิงในส่วนเนื้อหาทั้งหมด รวมทั้งรายการเอกสารอื่นที่มิได้อ้างไว้ในส่วนเนื้อเรื่องมารวบรวมไว้ก็ได้ หากเห็นว่าเอกสารนั้นมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียนและจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ดังนั้นจำนวนรายการเอกสารที่อ้างอิงในส่วนท้ายเรื่องจึงอาจมีมากกว่าจำนวนที่ถูกอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง สำหรับบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารสำนักวิทยบริการ กองบรรณาธิการกำหนดให้ผู้เขียนรวบรวมเอกสารอ้างอิงเฉพาะรายการเอกสารที่ถูกอ้างไว้ในส่วนเนื้อเรื่องเท่านั้น ภายใต้หัวข้อ “เอกสารอ้างอิง” สำหรับบทความภาษาไทย และ “References” สำหรับบทความภาษาอังกฤษ หลักเกณฑ์การเขียนเอกสารอ้างอิงกำหนดให้ผู้เขียนใช้แบบ APA citation style (American Psychological Association Citation Style) เครื่องหมาย / หมายถึงเว้นระยะ 1 ตัวอักษร หากเป็นผู้แต่งชาวต่างประเทศ ใช้ชื่อสกุล ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้นและชื่อกลาง โดยใช้เครื่องหมายตามตัวอย่าง สำหรับชื่อหนังสือภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อเรื่องและ ชื่อเรื่องย่อย ยกเว้นกรณีชื่อเฉพาะ

การเขียนบทความ ไม่ว่าจะเป็น บทความวิชาการ หรือบทความโดยทั่วไป รายงานผลงานวิจัย หรือสารคดี ต้องมีรายชื่อเอกสารที่นำข้อมูลมาใช้อ้างอิงหรือใช้ประกอบการเขียนแนบท้าย เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าบทความหรือรายงานนั้น ผ่านการค้นคว้าอย่างมีเหตุผล มีสาระที่เชื่อถือได้ เอกสารที่นำมาอ้างจะต้องให้ข้อมูล รายละเอียดชัดเจนเพียงพอที่จะสามารถติดตามค้นหาข้อมูลที่อ้างถึงหรือเกี่ยวข้องได้ถูกต้อง โดยทั่วไปแล้วเอกสารที่มีการนำข้อมูลมาอ้างอิงในเนื้อเรื่องของบทความหรือรายงาน จะเรียกว่าเอกสารอ้างอิง ซึ่ง ภาษาอังกฤษใช้ References, Literature Cited, หรือ Reference Cited ในปัจจุบันมักใช้คำว่า References แต่ถ้าเป็นเอกสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียนและผู้เขียนนำมาศึกษาข้อมูลประกอบ แต่มิได้มีการนำข้อมูลมาอ้างถึงโดยตรง จะเรียกว่าบรรณานุกรม หรือ Bibliography บทความใดที่มีทั้งเอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม จะต้องจัดทำรายการแยกกันไว้ท้ายเรื่อง

การอ้างอิง

การอ้างอิง หมายถึง การบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ใช้อ้างอิง ในเนื้อหาที่นำมาเขียนเรียบเรียงจะมีการอ้างอิงแทรกปนในเนื้อหา ซึ่งมี 2 ระบบ คือ ระบบนาม – ปี (Author – date) เป็นระบบที่มีชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า ที่อ้างอิงอยู่ภายในวงเล็บ ดังตัวอย่าง การอ้างอิงแบบ APA (ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์ : เลขหน้าที่อ้างอิง) ระบบหมายเลข (Number System) เป็นระบบที่คล้ายคลึงกับระบบนาม – ปี แต่ระบบนี้จะใช้หมายเลขแทนชื่อผู้แต่งเอกสาร ซึ่งปัจจุบันในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพนิยมใช้ เช่น การอ้างอิงแบบแวนคูเวอร์ ส่วนวิธีอ้างอิง มีอยู่ 2 วิธี คือ ให้หมายเลขตามลำดับของการอ้างอิง ให้หมายเลขตามลำดับอักษรผู้แต่ง ส่วนบรรณานุกรม (Bibliography) หมายถึง รายการของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดที่ผู้ทำรายงานได้ใช้ประกอบการเขียนรายงาน ทั้งที่ปรากฏชัดเจนโดยเขียนอ้างอิงไว้ และส่วนที่ไม่ปรากฏชัดเจน แต่อาจเป็นเพียงการรวบรวมความคิดหลาย ๆ แนว แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ นอกจากนี้การอ้างอิงอีกลักษณะหนึ่งที่ใช้กัน ได้แก่ เชิงอรรถ เป็นการนำข้อมูลวางไว้ส่วนล่างของแต่ละหน้าโดยมี เครื่องหมายหรือเลขลำดับที่กำกับ เชิงอรรถมักจะใช้กับบทความด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ แต่ปัจจุบันนิยมใช้กันน้อยมาก อย่างไรก็ตามการจัดทำรายชื่อเอกสารอ้างอิงท้ายเรื่องนั้นมีหลายรูปแบบ การเลือกใช้แบบใดขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของสถาบันการศึกษา หรือวารสารของแต่ละสถาบัน


รับเขียน essay - allบทความโดย ทีมนักเขียน HW
Academic Writing Experts
LINE id: @orderwork

🆕 Live Chat 💬 คลิ๊กที่นี่
Facebook Messenger 📱 คลิ๊กที่นี่
📖 คลิ๊กเพื่ออ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ