เริ่มเขียน Essay ด้วยเคล็ดลับง่าย ๆ
บทความ “เริ่มเขียน Essay ด้วยเคล็ดลับง่าย ๆ” เรียบเรียงจาก 7 Simple Tips on How to Start an Essay (2020) โดย ดร. คริสโตเฟอร์ ดรู จาก Helpful Professor: Information for Students and Teachers
เคยเป็นกันบ้างไหมครับ? บางครั้งความยากอยู่ตรงที่ไม่รู้จะ เริ่มเขียน Essay อย่างไร บางครั้ง นั่งจ้องหน้าจอว่าง ๆ 10 นาทีก็แล้ว ยังไม่รู้จะเริ่มตรงไหน อย่างไร ดร. คริสโตเฟอร์ ดรู บอกไว้ว่า “การเริ่มต้น” เป็นส่วนที่ยากที่สุดในการเขียน Essay ครับ หลาย ๆ คน อาจจะเคยผัดวันประกันพรุ่งในขั้นตอนนี้ ดร. คริสโตเฟอร์ บอกว่ามีหลายครั้งที่นักศึกษาเขียนอีเมลส่งให้อาจารย์ก่อนเวลาที่ต้องส่ง Essay ประมาณ 6 ชั่วโมงเพื่อขอขายเวลาส่งงาน อีเมลในลักษณะทำให้อาจารย์รู้สึกลำบากใจครับ อาจารย์จึงแนะนำวิธีที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ตนเองไปถึงจุดที่ต้องเขียนอีเมลขอขยายเวลาการส่งงาน ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถนำไปใช้ได้เมื่อเริ่มเขียน Essay ไม่ได้สักที
ข้ามบทนำไปก่อน
ดร. คริสโตเฟอร์ กล่าวว่า บทนำควรเป็นสิ่งที่เขียนในลำดับท้ายสุด เหตุผลก็คือ ส่วนที่ยากที่สุดในการเริ่มเขียน Essay คือ 2–3 คำแรก คุณจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ และเขียนบทนำไม่ออกสักที ดังนั้น ลองข้ามบทนำไปก่อนครับ ก็จะกลายเป็นว่า คุณจะได้เขียน 2–3 คำแรกนั้น ในตอนท้ายของกระบวนการ ซึ่งจะง่ายกว่าตอนเริ่มต้นเขียน บทนำทำหน้าที่เป็นส่วนที่สร้างความน่าสนใจและกล่าวถึงภาพรวมของ Essay ถ้าคุณเขียนส่วนอื่น ๆ ก่อนบทนำ คุณจะพบว่าการเขียนบทนำจะง่ายขึ้นมากเพราะคุณทราบข้อมูลอื่น ๆ ของ Essay นี้แล้ว ดังนั้นครับ ลองเขียนบทนำ (และบทสรุป) เป็นส่วนท้ายสุด
บ่อยครั้งครับ ที่คุณอาจจะเขียน Essay ไม่ออกสักทีเพราะว่าเพราะคุณปฏิบัติกับ 2–3 คำแรกอย่างทุ่มเทมากเกินไป ให้ตั้งสติให้ดีนะครับ ว่าสิ่งที่คุณเขียนในเนื้อหา (Body) มีแนวโน้มที่สร้างบทนำที่ดีได้ การข้ามบทนำไปก่อนช่วยให้คุณบรรเทารู้สึกความดัน เพราะการเริ่มเขียนบทนำเป็นอันดับแรกอาจะทำให้คุณรู้สึกว่าสิ่งที่คุณเขียนในตอนนี้ไม่สำคัญ (เท่าเนื้อหา) ทำให้คุณไม่มีกำลังใจเขียนและรู้สึกกดดันเมื่อเวลาผ่านไป การข้ามบทนำไปก่อนยังช่วยให้คุณเริ่มเขียนได้สักที เพราะแทนที่จะสร้างประโยคเริ่มต้นที่น่าดึงดูดและสมบูรณ์แบบ คุณจะไปมุ่งเน้นการสร้างประเด็นสำคัญอื่น ๆ ในเนื้อหาแทน ดังนั้นครับ ลืมบทนำไปก่อนนะครับ
ลองคิดประเด็นสำคัญ 5 ประเด็น ที่จะนำมาเขียนใน Essay
การระดมความคิด (Brainstorming) ช่วยให้คุณได้ประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่จะนำมาเขียนใน Essay เมื่อใดก็ตามที่รู้สึกว่าเขียนไม่ออก คุณจะต้องเริ่มระดมความคิดนะครับ ลองหากระดาษมาสักแผ่น แล้วเขียนหัวข้อของ Essay ไว้ตรงกลางหน้ากระดาษ จากนั้นให้เริ่มเขียนไอเดียหรือประเด็นสำคัญแยกย่อยออกมาจากหัวข้อนั้น คุณสามารถเขียนได้ทุกประเด็นเลยนะครับ ไม่ว่ามันจะเป็นประเด็นที่ดี หรือ ประเด็นที่ฟังดูแย่อย่างไรก็ตาม ขอให้มันเกี่ยวข้องกับหัวข้อ Essay ของคุณเท่านั้น ยกตัวอย่างครับ ให้หัวข้อ Essay เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “Climate Change and its Future Impact” นะครับ เริ่มต้นด้วยการเขียนหัวข้อนี้ลงตรงกลางหน้ากระดาษ
หลังจากนั้น ลองระดมสมองดูครับ ว่าคุณสามารถเขียนอะไรได้บ้างเกี่ยวกับหัวข้อนี้ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคืออะไร? (คำจำกัดความ หรือ คำอธิบาย) อุณหภูมิสูงขึ้นเท่าไหร่ นักวิทยาศาสตร์ยอมรับว่ามนุษย์ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นจริงหรือไม่ ทำไมนักวิทยาศาสตร์บางคนถึงไม่เห็นด้วยกับตรรกะดังกล่าว ระดับน้ำอาจสูงขึ้นอย่างไร สัตว์บางชนิดอาจใกล้สูญพันธุ์หรือไม่ สภาพอากาศที่รุนแรงมีความเกี่ยวข้องอย่างไร มนุษย์อาจจำเป็นต้องอพยพจริง ๆ หรือไม่ เป็นต้น เอาเข้าจริงๆ หัวข้อย่อยมาจากการที่คุณยังไม่มีความรู้แจ้งเกี่ยวกับ “Climate Change” นะครับ ข้อมูลเหล่านี้ที่จริงเป็นประเด็นที่ได้มากจาก Facebook หรือ TV หรือแม้กระทั่งบทสนทนากับเพื่อน ๆ แต่อย่างน้อย ๆ มันทำให้คุณเริ่มเขียนสักที และถ้าคุณได้เข้าเรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับ Climate Change ด้วยแล้วนั้น คุณอาจจะเขียนประเด็นออกมาได้หลากหลายกว่านี้ครับ หลังจากที่ได้ทำการระดมสมองแล้วนั้น ให้เริ่มหาอ่านบทความวิชาการ หรือ บทความการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้ แล้วนำมันมาเขียนให้เป็นย่อหน้าหนึ่งโดยมีการอ้างอิงต่าง ๆ อย่างถูกต้อง คำแนะนำสำคัญของ ดร. คริสโตเฟอร์ คือ ในแต่ละย่อหน้าควรมีอย่างน้อย 2 การอ้างอิง (Academic References) ครับ
เริ่มเขียน Essay โดยอ้างอิงประเด็นจากสไลด์ในห้องเรียน
สไลด์การบรรยาย หรือ Lecture Slides เป็นดั่งเหมืองทองคำสำหรับการหาข้อมูลที่จะนำมาเขียนลงใน Essay ครับ ถ้าคุณพบปัญหาในการระดมความคิดประเด็นสำคัญในข้อก่อนหน้านี้ ให้คุณกลับไปดูสไลด์การบรรยายแล้วคุณจะพบประเด็นดี ๆ มากมายที่จะเขียนถึงได้ ในขั้นตอนต่อไปก็คือหาบทความวิชาการ หรือ บทความการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้
เริ่มเขียน Essay โดยใช้บทความที่อาจารย์ให้มา
คุณควรอ่านบทความที่อาจารย์ให้มาเมื่อคุณเริ่มเขียนไม่ได้ จุดหนึ่งที่สำคัญคือ อาจารย์เตรียมการสอนโดยใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการค้นหาบทความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่ตนเองจะสอน ทำให้อาจารย์ต้องหาบทความที่ให้ข้อมูลที่ชัดเจน และ ถูกต้องที่สุด เกี่ยวกับหัวข้อที่อาจารย์กำลังจะสอน ฉะนั้น หากคุณไม่สามารถนึกถึงสิ่งใด ๆ ที่จะนำมาเขียนใน Essay ได้ ให้คุณย้อนกลับไปหาบทความที่อาจารย์ให้มาครับ วิธีก็คือ ให้ไปที่หน้าแรกของ Online Module ของบทเรียนดังกล่าว (ถ้ามีนะครับ) และเข้าไปที่บทความที่อาจารย์แนะนำให้อ่าน พบแล้วก็ดาวน์โหลดเก็บไว้ทั้งหมด เช่นเดียวกับสไลด์ครับ ควรดาวน์โหลดไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานในภายหลังนะครับ เมื่อคุณดาวน์โหลดแล้ว คุณจะมีบทความจำนวนมากเพื่อใช้เป็นรากฐานในการเริ่มเขียน
เริ่มเขียน Essay โดยค้นหาบทความเพิ่มเติมจาก Google Scholar
เมื่อคุณอ่านสไลด์ และ บทความที่อาจารย์ใหม่มาแล้ว ให้ไปที่ Google Scholar เพื่อค้นหาแนวคิดเพิ่มเติมครับ Google Scholar ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เมื่อประมาณปี 2015 มีการเปลี่ยนแปลงกฎเกี่ยวกับวิธีการจัดเก็บ และ เข้าถึงบทความวารสาร ทำให้ Google Scholar เข้าถึงวารสารได้มากขึ้น และตอนนี้ นักวิชาการส่วนมากเก็บบทความของตนไว้ในเว็บไซต์ เช่น academia.edu และ researchgate.net Google Scholar ได้เข้าถึง website เหล่านี้ และ รวบรวมบทความทางวิชาการที่ผู้ใช้เข้าถึงได้อย่างฟรี ๆ เลยครับ ใน Google Scholar ให้คุณลองค้นหาด้วยคำสำคัญ (Keyword) ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ Essay ของคุณ จากนั้นให้เปิดลิงก์ หรือ ไฟล์ pdf หรือ html เพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ คุณได้เจอบทคัดย่อของบทความมากมาย ซึ่งคุณต้องคัดเอาแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ทั้งนี้ครับ การอ้างอิงจากบทความที่หลากหลายเป็นการเพิ่มคะแนนได้ด้วยนะครับ เพราะมันแสดงให้เห็นว่าคุณได้ทำการค้นคว้าอย่างกว้างขวางสำหรับการเขียนใด ๆ การค้นคว้าเพิ่มเติมในลักษณะนี้จะให้ข้อมูลและรายละเอียดที่สำคัญ เป็นแนวทางให้คุณสามารถเริ่มเขียนได้ในท้ายที่สุดครับ
บทความโดย ทีมนักเขียน HW
Academic Writing Experts
LINE id: @orderwork
🆕 Live Chat 💬 คลิ๊กที่นี่
Facebook Messenger 📱 คลิ๊กที่นี่
📖 คลิ๊กเพื่ออ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
HW ให้บริการ รับเขียน Essay ทุกชนิด |