การเขียน Essay คือ อะไร?

การเขียน Essay คือ อะไร? หาคำตอบกันได้ที่นี่!

Essay คือ อะไร?

ก่อนจะไปดูกันว่า การเขียน Essay คือ อะไรนั้น เรามาทราบกันก่อนนะครับ ว่า “Essay” คำๆ นี้ แท้จริงแล้วหมายความว่าอะไร — จากข้อมูลของ Oxford Languages Research Programme โดย Oxford University ระบุว่า คำว่า “Essay” นั้น เดิมทีมีรากศัพท์ที่ปรากฏตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 2 ถึง ศตวรรษที่ 6 ครับ

ในภาษาละตินตอนปลาย ในช่วงประมาณปี ค.ศ. 200–600 เริ่มมีการใช้คำว่า “exigere” และ “exagium” ในส่วนของคำว่า “exigere” เป็นคำกริยา (Verb) ครับ หมายถึง “ascertain” ในภาษาอังกฤษ (เสาะหา, ค้นคว้า, สืบหา, ทำให้แน่ใจและชัดเจน) ส่วนคำว่า “exagium” เป็นคำกริยา (Verb) เช่นกัน หมายถึง “weigh” ในภาษาอังกฤษ (ชั่งน้ำหนัก, ประเมิน, ประเมินความสำคัญ) คำสองคำนี้ (exigere และ exagium) ได้กลายมาเป็นรากศัพท์ของคำว่า “essayer” และ “essai” ในภาษาฝรั่งเศสเก่า ช่วงก่อนปี ค.ศ. 1400 ซึ่งเป็นคำกริยา (Verb) หมายถึง “trial” ในภาษาอังกฤษ (ทดลอง, สอบสวน, สร้างตัวอย่าง) ในส่วนของภาษาอังกฤษเอง ได้หยิบยกเอาคำว่า “essayer” และ “essai” มาเป็นรากศัพท์ของคำว่า “assay” ในช่วงปลายศตวรรษที่ 15 ซึ่งเป็นคำกริยา (Verb) หมายถึง “determine/ test the content/ quality of something” (ตรวจสอบหรือทดสอบเนื้อหาหรือคุณภาพของบางสิ่ง)

คำว่า “essay” เป็น Alteration ของคำว่า “assay” นี้เองครับ

ลองดูจาก Timeline ด้านล่างนี้เพื่อเสริมความเข้าใจนะครับ

การเขียน Essay คือ 001

การเขียน Essay คือ การเขียนอธิบายและโน้มน้าว

การเขียน Essay คือ - 002คราวนี้เราจะเริ่มลงลึกกันแล้วนะครับว่า การเขียน Essay คือ อะไร (ซึ่งเกือบจะไม่เกี่ยวข้องกับความหมายของคำว่า Essay ข้างต้นเลยครับ)ประการแรก การเขียน Essay เป็นการเขียนที่อธิบายหรือบอกถึงสารสนเทศ ซึ่งมักประกอบด้วย

(1) การเขียนเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง (Compare and Contrast Essay) เป็นการเขียนที่แสดงถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างสิ่งสองสิ่ง
(2) การเขียนเกี่ยวกับวิธีการ (How-To Essay) เป็นการบอกผู้อ่านถึงวิธีการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
(3) การเขียนอธิบายข้อมูลสารสนเทศ (Informative/Descriptive Essay) เป็นการเขียนที่ให้ข้อมูลสารสนเทศตามลำดับที่เป็นเหตุผล

ประการที่สอง การเขียน Essay คือ การเขียนโน้มน้าว (Persuasive) ซึ่งเป็นการเขียนที่นำเสนอความคิดเห็นของผู้เขียน โดยผู้เขียนพยายามโน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นด้วย มักประกอบด้วย

(1) การเขียนแสดงความคิดเห็น (Opinion Essay) เป็นการเขียนที่แสดงความคิดเห็น ทรรศนะ หรือ ความเชื่อของผู้เขียน ที่ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นข้อเท็จจริง
(2) การเขียนที่กล่าวถึงปัญหาและการแก้ไข (Problem-Solution Essay) เป็นการเขียนที่กล่าวถึงปัญหา และ โน้มน้าวผู้อ่านให้เชื่อว่า วิธีการแก้ปัญหาของผู้เขียนสามารถแก้ปัญหาได้
(3) การเขียนที่กล่าวข้อสนับสนุนและข้อคัดค้าน (Pro-Con Essay) เป็นการเขียนที่ประเมินข้อดี ข้อเสีย ของความคิด หรือ สถานการณ์

รูปแบบการเขียน Essay ที่ปรากฎแพร่หลาย

แบบบรรยาย (Descriptive Essay)

เป็นแบบที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างว่า ดูเป็นอย่างไร สัมผัสอย่างไร รสเป็นอย่างไร กลิ่นเป็นอย่างไร เพื่อให้ความรู้สึกแก่ผู้อ่าน โดยทั่วไป จึงใช้รายละเอียดของประสาทสัมผัส การเขียนอาจเป็นการบรรยายเป็นรายการ คือให้รายละเอียดจุดต่อจุด หรือบรรยายเป็นเรื่องราว เพื่อให้ผู้อ่านสนใจเค้าโครงเรื่องและแก่นของเรื่องที่บรรยาย เช่น บรรยายถึงต้นไม้ในสวนหลังบ้านของฉัน การไปเยี่ยมผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาล หรือนักกีฬาทำอย่างไรเพื่อไปสู่โอลิมปิก

แบบให้นิยาม (Definition Essay)

เป็นการเขียนที่พยายามให้นิยามคำเฉพาะหรือให้มโนทัศน์ ที่เป็นนามธรรม ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ลึกไปกว่าความหมายในพจนานุกรม อาจต้องอธิบายถึงเหตุผลว่า “ทำไม” คำนั้นจึงนิยามอย่างนั้น การเขียนอาจเป็นการนิยามโดยตรง หรือเขียนเป็นเรื่องราวที่แฝงนัยให้ผู้อ่านอนุมานความหมายเอง เช่น ความหมายของความรัก ความหมายที่แท้จริงและความสำคัญของความซื่อสัตย์ ความหมายของครอบครัวที่ลึกไปกว่าความสัมพันธ์ทางสายเลือด

แบบเปรียบเทียบความเหมือน/ความแตกต่าง (Compare and Contrast Essay)

เป็นการเขียนที่อภิปรายถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างของสิ่งสองสิ่งหรือบุคคล ความคิด สถานที่ ฯลฯ อาจเป็นการเขียนที่อภิปรายอย่างไม่ลำเอียง หรือจูงใจให้ผู้อ่านเห็นประโยชน์ของฝ่ายหนึ่ง อาจเป็นการเขียนง่ายๆที่ทำให้ผู้อ่านสนุกสนาน หรือลงลึกให้หยั่งรู้ถึงธรรมชาติของมนุษย์ การเขียนอาจอภิปรายทั้งความคล้ายคลึงและความแตกต่าง หรืออาจอภิปรายเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ความคล้ายคลึง และความแตกต่างระหว่างเมืองสองเมือง หรือระหว่างบุคคลสองคน

แบบเหตุและผล (Cause and Effect Essay)

เป็นการอธิบายว่า เหตุใดเหตุการณ์หนึ่งจึงเกิดขึ้นและเกิดขึ้นอย่างไร มีผลอะไรเกิดขึ้นจากประสบการณ์นั้น เรียงความนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์หรือประสบการณ์ตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป การเขียนอาจอภิปรายทั้ง “เหตุ” และ “ผล” เช่น ทำไมภูเขาไฟจึงระเบิด และอะไรเกิดขึ้นหลังจากนั้น

แบบเล่าเรื่อง (Narrative Essay)

เป็นการเล่าเรื่องสั้น ประสบการณ์ส่วนบุคคล มักเขียนในรูปสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง อาจเล่าถึงรูปแบบชีวิตของคนๆหนึ่ง หรือประสบการณ์ประจำวันโดยทั่วไป เช่น น้องชายพาฉันกับตาไปตกปลา ประสบการณ์เฉียดตายของข้าพเจ้าที่ชายทะเล เป็นต้น

แบบอธิบายกระบวนการ (Process Essay)

เป็นการอธิบายถึงการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าทำอย่างไร โดยทั่วไปอธิบายการกระทำที่แสดงออกมาตามลำดับ รูปแบบการเขียนจะเป็นคำและทำเป็นขั้นตอน หรืออาจเขียนในรูปแบบการเล่าเรื่อง พร้อมกับคำแนะนำหรือคำอธิบายเป็นช่วงๆไปโดยตลอด

แบบอภิปรายให้เหตุผล (Argumentative Essay)

เป็นการเขียนที่พยายามโน้มน้าวผู้อ่านให้เห็นด้วยกับความเห็นของผู้เขียน อาจเขียนแบบให้คิดอย่างจริงจังหรือแบบสนุกสนาน แต่ต้องสร้างความเชื่อมั่นต่อความเห็นของผู้เขียน อาจเขียนอย่างตรงไปตรงมา หรือค่อยๆโน้มน้าวโดยอาศัย การใช้คำ เช่น เราควรใช้การขนส่งสาธารณะแทนการขับรถ หมาย่อมดีกว่าแมว เป็นต้น

แบบวิเคราะห์วิจารณ์ (Critical Essay)

เป็นการเขียนที่วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน และ/ หรือ วิธีการที่บุคคลใช้ทำงาน โดยเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงจุดสำคัญอย่างสั้นของเนื้อหาในหนังสือ ภาพยนตร์หรืองานศิลปะ จากนั้นอภิปรายข้อดีที่ผู้เขียนหรือผู้สร้างสรรค์งานบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างไร แล้วให้ความเห็น เช่น จุดแข็งจุดอ่อนของภาพยนตร์เรื่องนี้ ผู้แต่งเสนอตัวละครเอกอย่างไร เป็นต้น

ประเภทการเขียน

มีการแบ่งประเภทการเขียนหลักๆ หลายประเภทครับ การเขียนแต่ละประเภทมีจุดประสงค์เฉพาะที่แตกต่างกัน ดังนี้

การเขียนสร้างสรรค์ (Creative Writing) มีจุดประสงค์ที่จะให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน
การเขียนบรรยาย (Descriptive Writing) มีจุดประสงค์ที่จะบรรยายถึงบุคคล สถานที่ หรือ เหตุการณ์ จนกระทั่งผู้อ่านมีภาพของสิ่งนั้นในใจ ผู้เขียนต้องให้รายละเอียดที่ชัดเจน เป็นจริงเป็นจัง จนเสมือนกับการระบายสีภาพสำหรับผู้อ่าน มีรูปแบบการเขียน คือ รายงานการสังเกตและการเขียนเชิงบรรยาย การเขียนประเภทการบรรยายนี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในการเขียนประเภท การเล่าเรื่องและการอธิบาย
การเขียนอธิบาย (Expository Writing) มีจุดประสงค์ที่จะให้สารสนเทศแก่ผู้อ่าน การเขียนประเภทนี้ได้แก่ การธิบาย การแนะแนวทาง การเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง เป็นต้น มีรูปแบบการเขียน ได้แก่ รายงานวิจัย การสรุปความ ความเรียงเชิงวิเคราะห์ การอธิบายกระบวนการ เป็นต้น
การเขียนเล่าเรื่อง (Narrative Writing) มีจุดประสงค์ที่จะบรรยายถึงประสบการณ์ หรือ เหตุการณ์ หรือ ลำดับเหตุการณ์ในลักษณะที่เป็นเรื่องราว เช่น การเล่าเรื่องส่วนบุคคล มีรูปแบบการเขียน ได้แก่ นวนิยายอิงเรื่องจริง นวนิยายเชิงประวัติศาสตร์ นวนิยายวิทยาศาสตร์ อัตชีวประวัติ ชีวประวัติ การเล่าเรื่องส่วนบุคคล เรื่องจินตนาการ เรื่องที่เกี่ยวกับอภินิหาร นิทานพื้นบ้าน เทพนิยาย ตำนาน และเรื่องผจญภัย
การเขียนโน้มน้าว (Persuasive Writing) มีจุดประสงค์ที่จะให้ความเห็นเพื่อชักจูงความคิดของผู้อ่าน โดยอาศัยหลักฐานมาสนับสนุน เช่น การเขียนเชิงอภิปรายให้เหตุผล เป็นต้น มีรูปแบบการเขียน ได้แก่ ความเรียง ป้ายโฆษณา ป้ายประกาศ บทความ บทบรรณาธิการ โปสเตอร์
การประพันธ์บทกวี (Poetry Writing) มีรูปแบบการเขียน คือ บทกวีที่ไม่ใช้จังหวะ บทกวีที่ใช้จังหวะ บทกวีที่เป็นแบบแผน (แบบแผนของโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน) หรือ รูปแบบอื่นๆ
การเขียนส่วนตัว (Personal Writing) มีรูปแบบการเขียน ได้แก่ อีเมล บันทึกส่วนตัว รายการข่าวสาร จดหมาย บันทึกสั้นๆ และบัตรต่างๆ

นักวิชาการบางกลุ่ม แบ่งรูปแบบการเขียนไว้หลากหลายตามจุดประสงค์เฉพาะของการเขียน โดยไม่แยกเป็นรูปแบบหลัก และ รูปแบบย่อย ถือว่าแต่ละรูปแบบมีลักษณะเฉพาะ ตามจุดประสงค์ในการเขียนนั้นๆ นักวิชาการแนะนำวิธีการเขียนเรียงความแบบต่างๆไว้ว่า เรียงความเป็นงานเขียนสั้นๆ ที่อภิปราย บรรยาย หรือ วิเคราะห์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือ รายงานข้อมูล ทั้งในลักษณะโดยตรง หรือ โดยอ้อม หรือ ในลักษณะต้องใช้ความคิดอย่างหนัก หรือ แบบเบาสมอง ส่วนใหญ่จะเขียนในนามของสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง หรือ สาม

เรียบเรียงจาก [1], [2]


การเขียน Essay คือ - 007บทความโดย ทีมนักเขียน HW
รับเขียน Essay & Academic Writing
LINE id: @orderwork
🆕 Live Chat 💬 คลิ๊กที่นี่
Facebook Messenger 📱 คลิ๊กที่นี่
📖 คลิ๊กเพื่ออ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

HW ให้บริการ รับเขียน Essay ทุกชนิด
ติดต่อสั่งงาน – สอบถามเกี่ยวกับบริการ
LINE id: @orderwork | 💬 Live Chat คลิ๊กที่นี