โครงสร้าง Essay

โครงสร้าง Essay ? เรื่องง่าย …

บทความ “โครงสร้าง Essay ? เรื่องง่าย …” เรียบเรียงจาก Essay Structure โดย เอลิซาเบธ เอบรัมส์ แห่ง Harvard University’s Writing Centre

การจัดโครงสร้าง Essay ด้วย Introduction ต่อด้วย Body แล้วก็ Conclusion ถูกต้องแล้วหรือไม่?

คำตอบคือ ใช่ครับ “แต่มีบางสิ่งที่คุณควรรู้มากกว่านี้ครับ”

วันนี้ ผมได้มีโอกาสอ่านบทความ “Essay Structure” (โครงสร้าง Essay) ที่เขียนโดย เอลิซาเบธ เอบรัมส์ แห่ง Harvard University’s Writing Centre เมื่อปี 2000 แล้วพบว่าเป็นบทความที่ดีเลยทีเดียวครับ จึงอยากจะนำมาเล่าสู่ให้ทุกท่านฟังเพื่อจะได้นำองค์ความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ในการเขียน Essay ของตนเองได้ครับ

การเขียน Essay หรือ Academic Essay เปรียบได้ว่าเป็นการนำ “ชุดความคิดที่สอดคล้องกัน” มาใช้ในการโต้แย้ง ซึ่งที่จริงแล้ว Essay มีลักษณะเป็น “เส้นตรง” เพราะผู้เขียนจะนำเสนอทีละความคิดตามลำดับที่เหมาะสมกับผู้อ่าน

 โครงสร้าง Essayดังนั้น การจัดโครงสร้าง Essay ที่ดีก็คือ “การให้ความสำคัญต่อตรรกะของผู้อ่าน” ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญต่อลำดับความคิดที่นำเสนอและดังนั้น จุดสำคัญของ Essay ดังกล่าวก็คือ “โครงสร้าง” ของมันนั่นเองครับ โครงสร้างคือ สิ่งที่กำหนดข้อมูลที่ผู้อ่านจำเป็นต้องรู้ และ การลำดับข้อมูลที่เหมาะสมต่อผู้อ่าน โครงสร้างของ Essay จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อโต้แย้งหลัก (Main Claim/ Argument) อันที่จริง แม้จะมีแนวทางเกี่ยวกับโครงสร้างแบบคลาสสิก เช่น Introduction, Body, และ Conclusion เอลิซาเบธกล่าวว่า “ไม่มีชุดสูตรสำเร็จ” เสียทีเดียวครับ

ส่วนประกอบ โครงสร้าง Essay

Essay ทั่วไปประกอบด้วยข้อมูลหลายประเภท ซึ่งถูกจัดเรียงอยู่เป็นส่วน ๆ แม้แต่ Essay สั้น ๆ ก็ยังมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันได้ เช่น มีการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อโต้แย้ง (Argument) การสรุป แม้บทนำ (Introduction) และบทสรุป (Conclusion) จำเป็นต้องมีใน Essay แต่ส่วนอื่นอาจไม่เป็นอย่างนั้นครับ เช่นการโต้แย้งอาจปรากฏภายในย่อหน้าหนึ่งอย่างเป็นอิสระ ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งในบทนำหรือบทสรุป ภูมิหลัง (Background) เช่น บริบททางประวัติศาสตร์ หรือ ข้อมูลชีวประวัติ บทสรุปของทฤษฎีหรือคำวิจารณ์ที่เกี่ยวข้อง คำจำกัดความ อาจปรากฏในบทนำ หรือระหว่างบทนำกับส่วนวิเคราะห์แรก หรืออาจจะใกล้ส่วนเริ่มต้นของส่วนที่เกี่ยวข้องกับภูมิหลังนั้น

การกำหนดส่วน (Sections) ต่าง ๆ ใน Essay เป็นประโยชน์ในการตอบคำถามที่ผู้อ่านอาจถามเมื่อได้อ่าน Essay ของผู้เขียน จริงครับ ผู้อ่านควรตั้งคำถามต่อ Essay ของผู้เขียน เพราะถ้าพวกเขาไม่ทำ Essay นั้นจะเป็นได้เพียงการนำเสนอข้อเท็จจริง ไม่ใช่การโต้แย้ง (Argue) หรือนำเสนอแนวคิดใหม่ใด ๆ ครับ

1. “อะไร?”

คำถามแรกที่ผู้เขียนจะได้รับจากผู้อ่านคือ “อะไร?” เช่น หลักฐานอะไรที่แสดงว่าข้อมูลที่ผู้เขียนนำเสนอ (อาทิ คำอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ใน Essay) เป็นความจริง? ในการตอบคำถามนี้ ผู้เขียนต้องตรวจสอบหลักฐานแล้วแสดงให้เห็นถึงความจริงของสิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอด้วยการอ้างอิง (References) ที่เหมาะสม ซึ่ง “อะไร” ที่ว่านี้ มักจะอยู่ในลำดับต้น ๆ ใน Essay เอลิซาเบธกล่าวว่ามันอาจจะมาหลังบทนำ เนื่องจากผู้เขียนกำลังอธิบายสิ่งที่สังเกตเห็นเป็นหลักและการแสดงหลักฐานในส่วนนี้เหมาะที่สุดในการเริ่มเขียน Essay ใดๆ อย่างไรก็ตาม ขอเตือนไว้ก่อนว่าส่วนนี้ไม่ควรกินเวลามากกว่าหนึ่งในสาม (ควรจะน้อยกว่ามาก) ของการเขียน Essay ทั้งหมด เพราะถ้ามากกว่า Essay จะขาดสมดุล และอาจเป็นเพียงคำอธิบายอะไรบางอย่างเท่านั้น

2. “อย่างไร?”

นอกจากคำถาม “อะไร?” ผู้อ่านอาจต้องการทราบว่า “ข้อโต้แย้ง (Argument) เป็นจริงในทุกกรณีหรือไม่? อย่างไร?” Essay นี้ จะยืนหยัดต่อความท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างไร? เนื้อหาอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง การตรวจสอบหลักฐานด้วยวิธีอื่น ๆ และแหล่งที่มาอื่น ๆ มีผลต่อการโต้แย้งที่ผู้เขียนกำลังทำหรือไม่? ซึ่งโดยปกติแล้ว Essay ที่ดีจะประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องกับ “วิธีการ” อย่างน้อยหนึ่งส่วน (เอลิซาเบธเรียกส่วนนี้ว่า “ความซับซ้อน” หรือ Complication เพราะผู้เขียนกำลังตอบคำถามที่ซับซ้อนของผู้อ่าน) ส่วนนี้มักจะมาหลังจาก “อะไร” แต่โปรดจำไว้นิดหนึ่งว่า Essay หนึ่งๆ อาจจะมี “ความซับซ้อน” เกิดขึ้นหลายครั้งขึ้นอยู่กับความยาวของ Essay นั้น และการโต้แย้งอาจปรากฏขึ้นที่ใดก็ได้ใน Essay

3. “ทำไม?”

ผู้อ่านอาจต้องการทราบว่า “ความสำคัญของข้อโต้แย้ง (Argument) คืออะไร?” อะไรอยู่ในข้อโต้แย้งของผู้เขียน หรือ ทำไมการตีความปรากฏการณ์ของผู้เขียนจึงมีความสำคัญ? คำถามนี้มองหาผลกระทบที่ใหญ่กว่า Essay เพราะผู้เขียนต้องตอบได้ว่า Essay นี้มีความสำคัญในบริบทที่กว้างขึ้นอย่างไร ในการตอบคำถาม “ทำไม?” ผู้เขียนต้องอธิบายถึงความสำคัญของ Essay แม้ว่าผู้เขียนแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ Essay ในบทนำไปแล้ว คำตอบที่สมบูรณ์ที่สุดมักอยู่ที่ส่วนท้ายหรือบทสรุปของ Essay ถ้าผู้เขียนไม่เน้นย้ำถึงความสำคัญในส่วนท้าย ผู้อ่านอาจจะพบว่า Essay นั้นดูเหมือนยังเขียนไม่เสร็จ หรือ ถ้าแย่กว่านั้น Essay นั้นอาจะไม่มีจุดหมายใด ๆ เลย

เคล็ดลับการจัด โครงสร้าง Essay

การจัดโครงสร้างตาม “ตรรกะของผู้อ่าน” อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น คือเคล็ดลับการจัดโครงสร้าง Essay ที่มีประสิทธิภาพครับ การตรวจสอบข้อโต้แย้งของผู้เขียนเพื่อคาดการณ์ถึงสิ่งที่ผู้อ่านอยากรู้ และ อยากรู้ในลักษณะใด ในลำดับใด เพื่อที่จะเข้าใจ และ เชื่อมั่นในการโต้แย้งของผู้เขียน ถือได้ว่า เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด การจับคู่ความคิดผ่านการบรรยายเป็นลายลักษณ์อักษร การกระทำเช่นนั้นจะให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดของผู้เขียน และ จะช่วยให้ผู้เขียนเตือนตัวเองในทุกช่วงเวลาว่าจะต้องทำให้ผู้อ่านเข้าใจความคิดของผู้เขียนได้

ดังนั้น การจัดโครงสร้างจำเป็นจะต้องประกอบด้วยการ “คาดการณ์” ว่าผู้อ่านคาดหวังข้อมูลพื้นฐานใดบ้าง มักเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์แหล่งที่มาของข้อมูลอย่างใกล้ชิด การจัดโครงสร้างไม่เกี่ยวข้องกับการจัดย่อหน้า (Paragraphs) แต่เกี่ยวข้องกับการจัด “ส่วน” (Sections) ของ Essay คราวนี้ลองมาจัดโครงสร้างกันดูนะครับ ให้เริ่มจากการระบุข้อโต้แย้งสักหนึ่งหรือสองประโยค จากนั้นเขียนอีกหนึ่งประโยคเพื่อบอกว่าเหตุใดประโยคแรกนั้นจึงสำคัญ ให้ระบุถึงสิ่งที่ผู้อ่านได้เรียนรู้จากการอ่านประโยคแรกนั้น ในจุดนี้ ผู้เขียนกำลังให้คำตอบกับคำถาม “ทำไม” ที่กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้


โครงสร้าง Essay - 007บทความโดย ทีมนักเขียน HW
Academic Writing Experts
LINE id: @orderwork

🆕 Live Chat 💬 คลิ๊กที่นี่
Facebook Messenger 📱 คลิ๊กที่นี่
📖 คลิ๊กเพื่ออ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ