🖱️ ข้อมูลอ้างอิงบทความ ว่าด้วยเรื่อง ผู้แต่งเว็บไซต์ และ การเขียนอ้างอิงจากเว็บไซต์ — [1], [2], 3
การอ้างอิง 🖱️ (Citation/ Reference) อย่างถูกต้อง คือ สิ่งที่สำคัญอย่างมากในงานเขียนทุกชนิด (โดยเฉพาะใน การเขียน Essay จะขาดไปเสียไม่ได้เลยครับ) เพราะเป็นการให้ Credit แก่ Author หรือ ผู้ประพันธ์, เจ้าของเนื้อหา, ผู้เขียน, หรือ ผู้แต่ง (แล้วแต่จะเรียกแล้วกันนะครับ 😅) ของแหล่งข้อมูลที่คุณหยิบเอามาใช้ในงานเขียนของคุณ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจ และ ความคุ้นเคยของคุณที่มีต่อแหล่งข้อมูลนั้น และ ยังช่วยหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเกิดกรณี Plagiarism 🖱️ อย่างไม่ตั้งใจได้ครับ
สิ่งที่สำคัญอย่างมากในงานเขียนทุกชนิด คือ การอ้างอิงอย่างถูกต้อง ซึ่งรวมถึง … การอ้างอิงเว็บไซต์ อย่างถูกต้อง |
ในทุกวันนี้ เวลาจะเขียนอะไรสักอย่างหนึ่ง ผมเชื่อว่าแทบเป็นไปไม่ได้เลยครับ ที่เราจะไม่ค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เว้นแต่ว่าเราจะเป็นผู้ประพันธ์เรื่องนั้นด้วยตนเอง โดยกลั่นมาจากความคิดของตนเองทั้งหมด ในอินเตอร์นั้น มีข้อมูลในอินเตอร์เน็ตอยู่หลากหลายประเภทครับ ซึ่งข้อมูลที่เรานำมาใช้ส่วนใหญ่ ก็ (ควรจะ) จะเป็น Article ใน Online Academic Journals หรือ E-Books ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เราสามารถทำการอ้างอิงได้ไม่ยากครับ เพราะ Online Academic Journals จัดว่าเป็น “Journal Article” และ E-Books จัดว่าเป็น “Book” ในแหล่งเนื้อหา จะมีการระบุ ชื่อผู้แต่ง (Author) ปีที่แต่ง และ อื่น ๆ ไว้อย่างครบถ้วน
นอกเหนือจาก Online Academic Journals หรือ E-Books แล้วนั้น ผมเชื่อว่ามีอยู่บ่อยครั้งครับ ที่เราไปเจอข้อมูลดี ๆ ในเว็บไซต์ และ ต้องการนำข้อมูลนั้นมาใช้ในเนื้อหา คราวนี้ พอนำข้อมูลมาใช้แล้วก็ต้องทำการอ้างอิง ซึ่งไม่ต่างจาก Journal Article หรือ Book เลยครับ การอ้างอิงเว็บไซต์ ทำได้ไม่ยากครับ ไม่ว่าจะทำเองแบบ Manual หรือ ใช้โปรแกรมช่วย
ผมขอแนะนำ การใส่ Reference โดยใช้ Microsoft Word 🖱️ ที่จะทำให้การอ้างอิงในงานเขียนของคุณ “ง่ายขึ้นอย่างมาก ๆ” ครับ
ปัญหาอย่างหนึ่ง ที่มักเกิดขึ้นใน การอ้างอิงเว็บไซต์ คือ |
วิธีหาชื่อ ผู้แต่งเว็บไซต์ สำหรับใช้ในการอ้างอิงเว็บไซต์
ต่อไปนี้เป็น 7 วิธี ในการระบุ Website Author หรือ ชื่อผู้แต่งเว็บไซต์ ไปดูกันเลยครับ
1. ดูที่บริเวณข้าง ๆ ชื่อเรื่อง (Title)
ลองดูที่ด้านบน, ด้านล่าง, หรือ ข้าง ๆ (ซ้าย/ขวา) ชื่อเรื่อง หรือ หัวข้อ (Title) ของบทความ จากประสบการณ์นะครับ เว็บไซต์ส่วนใหญ่ระบุชื่อผู้แต่ง หรือ ผู้ร่วมแต่ง (Co-Author) บทความที่ข้างล่าง Title และ นี่ก็เป็นตำแหน่งแรกที่คุณควรมองหาชื่อผู้แต่งครับ ลองดูตัวอย่างตำแหน่งชื่อผู้แต่งที่ผมพูดถึง ในภาพต่อไปนี้ครับ
2. ดูที่ด้านล่างสุดของเนื้อหาบทความ
ถ้าไม่เจอชื่อผู้แต่งข้าง ๆ Title ให้ลองดูตรงที่ด้านล่างสุดของเนื้อหาครับ
3. ดูข้อมูลลิขสิทธิ์ (Copyright)
ถ้าไม่เจอชื่อผู้แต่ง ทั้งบริเวณข้าง ๆ Title หรือ ด้านล่างสุดของเนื้อหาบทความ 😢 ลองเลื่อนลงมาล่างสุดของเว็บไซต์ครับ เกือบทุกเว็บไซต์จะแสดงชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ (©) แถวๆ ด้านล่างของหน้าเว็บไซต์ โดยส่วนใหญ่มักจะเป็น ชื่อบริษัท หรือ ชื่อองค์กร (ไม่ใช่ผู้แต่งโดยตรงครับ) คุณสามารถใช้ชื่อบริษัทเป็นชื่อผู้แต่งได้ ในกรณีที่หาชื่อผู้แต่ง (ชื่อ สกุล ของผู้แต่ง) ไม่เจอจากตำแหน่งอื่น ๆ บนเว็บไซต์ครับ
4. ดูที่หน้า “Contact Us” หรือ “About Us” เพื่อหาชื่อ ผู้แต่งเว็บไซต์
บางเว็บไซต์ ระบุเพียงคำว่า “Copyright © 2021” แต่อาจจะไม่ได้ระบุ ชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ในกรณีนี้คุณสามารถดูที่หน้า “Contact Us” หรือ “About Us” เพื่อหาชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ด้วยครับ
5. ถามเจ้าของเว็บไซต์โดยตรง
ผมไม่แนะนำให้คุณใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ข้อมูลลิขสิทธิ์ หรือ แม้กระทั้งหน้า “About Us” แต่หากคุณจำเป็นต้องใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์นี้จริง ๆ ให้ลองอีเมล์ถามเจ้าของเว็บไซต์ครับ สามารถทำได้โดยใช้ข้อมูลติดต่อในหน้า “Contact Us” (แต่ถ้าไม่มีข้อมูลการติดต่อใด ๆ เลย ผมแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์นี้ครับ)
6. ค้นหาข้อความบางส่วนใน Google เพื่อค้นหาต้นฉบับ
ในบางครั้ง เราอาจจะไปได้ข้อมูลมาจากบางเว็บไซต์ ที่ไม่ปรากฎข้อมูลผู้แต่งใด ๆ เลย โปรดเดา ๆ ไว้ก่อนนะครับ ว่าเว็บไซต์เหล่านี้ อาจคัดลอกข้อมูลมากจากแหล่งอื่น (โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่กล่าวถึงในข้อ 5) ดังนั้น คุณอาจจะลองคัดลอกข้อความบางส่วนที่คุณต้องการใช้ แล้วนำไปค้นหาใน Google เพื่อดูว่ามีข้อมูลปรากฏในที่อื่น ๆ หรือไม่ ถ้ามีลองกดเข้าไปดูนะครับ และ ดูว่าใครเป็นผู้แต่งครับ
7. ใช้ WHOIS เพื่อค้นหา ผู้แต่งเว็บไซต์ / เจ้าของเว็บไซต์
WHOIS เป็นฐานข้อมูลการลงทะเบียนเว็บไซต์ครับ คุณสามารถเข้าไปที่ https://who.is/ 🖱️ เพื่อดูชื่อเจ้าของเว็บไซต์ได้ และ วิธีนี้อาจจะไม่ได้ผลเสมอไป เนื่องจากเจ้าของเว็บไซต์มักไม่ใช่ผู้แต่ง และ บริษัทจำนวนมากใช้ Privacy Services เพื่อซ่อนข้อมูลครับ
การตรวจสอบภูมิความรู้ของ ผู้แต่งเว็บไซต์
สิ่งหนึ่งที่ลืมเสียไม่ได้เลยใน การอ้างอิงจากเว็บไซต์ นั้น คือ การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเนื้อหาครับ
การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้แต่ง (Author Credentials) คือ การตรวจสอบวุฒิฐานะ วิทยฐานะ หรือ ภูมิความรู้ของผู้แต่ง ว่าผู้แต่งนั้นมีความรู้ หรือ ประสบการณ์ เกี่ยวกับเรื่องที่เขียนมากน้อยเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ทางวิชาชีพ การศึกษา บทความ หรือ หนังสือที่เคยเขียน เป็นต้น
ลองตั้งคำถามกับตัวเองนะครับ ว่า “ทำไมเราถึงคิดว่าคนนี้รู้เรื่องนี้มากกว่าตัวเรา?”
ตารางข้างใต้นี้ แนะวิธีการตรวจสอบ Author Credentials เบื้องต้นครับ ประกอบด้วย การตรวจสอบวิทยฐานะ งานเขียนอื่น ๆ ของผู้แต่ง และ ประสบการณ์ของผู้แต่งครับ
🖱️ ข้อมูลอ้างอิง — [1], [2], 3
บทความโดย ทีมนักเขียน HW
Academic Writing Experts
LINE id: @orderwork
🆕 Live Chat 💬 คลิ๊กที่นี่
Facebook Messenger 📱 คลิ๊กที่นี่
📖 คลิ๊กเพื่ออ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ