การคิด ในรูปแบบต่างๆ

การคิด เชิงเพ้อฝัน และ เชิงควบคุม

บทความ “การคิด ในรูปแบบต่างๆ” เรียบเรียงจาก Essay on Thinking: (it’s Types and Forms) โดย อามาน ชาร์มา จาก Psychology Discussion

ความหมายของ “การคิด”

การคิด - รับเขียน Essayมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล เพราะมีความสามารถในการคิดและการใช้เหตุผล ความเหนือกว่าสัตว์อื่น ๆ ในการเรียนรู้และการปรับตัวเพื่อเอาตัวรอดส่งผลให้มนุษย์มีความสามารถในการคิดที่ดีขึ้นมาโดยตลอด ในความหมายกว้าง ๆ การคิดประกอบไปด้วย การรับรู้ จินตนาการ และ ความจำ ในหลาย ๆ ครั้ง การคิดถูกใช้เพื่อหมายถึงกระบวนการแก้ปัญหา โดยทั่วไป การคิดเกิดขึ้นเมื่อเราเผชิญกับปัญหาที่ต้องการแก้ไข หรือ เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับ หรือรอบตัวเรา ลองคิดดูสิครับ ถ้าทุกอย่างราบรื่นเป็นปกติทั้งหมด โอกาสที่จะเกิดการคิดก็มีน้อยครับ

Robert Whittaker นักนิเวศวิทยาชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งที่เสนอระบบการจำแนกสิ่งมีชีวิตเป็น 5 อาณาจักร ให้คำจำกัดความแก่การคิด ว่าเป็นรูปแบบพฤติกรรมทางปัญญาที่ซับซ้อน ซึ่งเกิดขึ้นในขั้นตอนที่ค่อนข้างก้าวหน้าของพัฒนามนุษย์ เกิดขึ้นในทุกครั้งที่วิธีการจัดการกับสิ่งแวดล้อมเดิม ๆ พิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผล ในแง่ที่ง่ายกว่า การคิดเป็นการปลุกเร้าอารมณ์ตามลำดับของสัญลักษณ์ (Sequential Arousal of Symbols) ซึ่งสัญลักษณ์ของวัตถุ คำพูด หรือแนวความคิด ที่ไหลเวียนอยู่ในจิตใจถูกพิจารณาใคร่ครวญทีละลำดับ ประกอบด้วยการจัดเรียงใหม่ หรือ การจัดการข้อมูล ทั้งจากสภาพแวดล้อม และ สัญลักษณ์ที่เก็บไว้ในหน่วยความจำ (หน่วยความจำยาว) สัญลักษณ์แสดงถึงเหตุการณ์ หรือ สิ่งของบางอย่างในโลก โดยทั่วไป ภาพ และ ภาษา ถูกใช้ในความคิดของมนุษย์ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าการคิดเป็นกิจกรรมที่มีการจัดระเบียบเป็นระบบ และ มีจุดมุ่งหมายบางอย่างเสมอ

ประเภทของ การคิด

การคิดเชิงเพ้อฝัน (Autistic Thinking)

การคิดเชิงเพ้อฝัน หรือ Autistic Thinking คือ การคิดแบบลอย ๆ เป็นการคิดถึงบางสิ่งที่อาจไม่เป็นความจริง ไม่มีคำจำกัดความที่อ้างจากข้อเท็จจริง เวลา และ พื้นที่ ไม่ได้มุ่งเน้นการแก้ปัญหา โดยทั่วไป การคิดในลักษณะดังกล่าวจะมีความเป็นส่วนตัวสูง และ บุคคลที่คิดนั้น อาจใช้สัญลักษณ์ที่มีความหมายส่วนตัว ความต้องการส่วนตัวของตนเอง และ ความพยายามในการสรรสร้างหรือเติมเต็มสัญลักษณ์เหล่านั้น การคิดเชิงเพ้อฝันมีรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

การคิดแบบแฟนตาซี — ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า ฝันกลางวัน เช่น ฝันในสภาพตื่นนอนอยู่ เปรียบเสมือนการสร้างวิมานในอากาศ ซึ่งในความฝันนั้น เราจินตนาการถึงสิ่งต่าง ๆ หรือ สถานการณ์ต่างๆ ตามที่เราต้องการ ซึ่งอาจจะไม่ใช่อย่างที่เป็นอยู่ก็ได้ เป็นวิธีที่เราใช้ในการตอบสนองความต้องการของตนเองที่ไม่สามารถเติมเต็มได้ในความเป็นจริง แม้แต่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ก็เป็นไปได้ในความคิดแบบแฟนตาซี ตัวอย่าง เช่น เด็กชายมองดูวัวที่กำลังเล็มหญ้าอยู่ในทุ่งนาโดยกำลังคิดว่าฝันเขากำลังนั่งอยู่บนเครื่องบินเพื่อเดินทางท่องเที่ยว คนหนุ่มบางคนอาจฝันจะเป็นฮีโร่ที่มีชื่อเสียง เป็นต้น เราอาจพบความสุข หรือ ความผ่อนคลายจากความตึงเครียดชั่วคราวโดยการคิดแบบแฟนตาซี แต่คิดแบบแฟนตาซี หรือ เพ้อฝันมากเกินไป อาจทำให้ไม่สามารถเผชิญหน้ากับความจริงได้ Sigmund Freud นักประสาทวิทยาชาวออสเตรีย ผู้ก่อตั้งศาสตร์แห่งจิตวิเคราะห์ เคยกล่าวไว้ว่า ความฝัน คือ ความปรารถนาที่จะเติมเต็มความปรารถนาของเราที่ไม่ได้รับการเติมเต็มในความเป็นจริง ซึ่งปรากฏในรูปแบบของ “ความฝัน” ทั้งนี้ ไม่มีข้อจำกัดใด ๆ ทางความคิดที่ปรากฏในความฝัน

การคิดแบบจินตนาการ — จินตนาการเป็นกิจกรรมทางจิต ที่เราใช้ประโยชน์จากรูปภาพที่เรานึกถึง ในกระบวนการของการจินตนาการนั้น เราจะไม่มีการรับรู้ความรู้สึก เราจะไม่ติดต่อกับความเป็นจริง เราจะมีแต่ภาพจิต

การคิดแบบภวังค์ — มีลักษณะใกล้เคียงกับความคิดแบบแฟนตาซี แต่ในความคิดแบบแฟนตาซี เราจะมีเป้าหมายบางอย่าง แต่ในภวังค์นั้น จะไม่มีเป้าหมายใด ๆ เลย จิตใจจะล่องลอยอย่างอิสระ และ ทุกสิ่งอาจอยู่ในความคิดและจากไป

การคิดเชิงควบคุม (Controlled Thinking)

การคิดเชิงควบคุม หรือ Controlled Thinking เรียกอีกอย่างว่า การคิดแบบชี้นำ เป็นการคิดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมา เราควบคุมกระบวนการคิด ทำให้ความคิดของเราสัมผัสกับความเป็นจริง และ ความคิดเหล่านั้นถูกกำหนดโดยเป้าหมายบางอย่าง รูปแบบของการคิดเชิงควบคุมมักเกี่ยวข้องกับการให้เหตุผล (Reasoning) หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดการประเมิน หรือ การตัดสินใจ (Judgment) โดยอาศัยการตัดสินใจอื่น ๆ ร่วมด้วย ในการให้เหตุผลจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบและกี่พิจารณาจากข้อเท็จจริง หรือ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการตัดสิน ซึ่งการคิดในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการให้เหตุผลมี 2 ประเภท ดังนี้

การคิดแบบอุปนัย — การให้เหตุผลแบบอุปนัยเปลี่ยนจากการคิดแบบปัจเจกบุคคล ไปสู่การคิดแบบวางหลักเกณฑ์สากล (Generalization) ในแง่ที่ว่าลักษณะทั่วไปเกิดขึ้นจากประสบการณ์ส่วนบุคคลเกี่ยวกับสิ่งหนึ่ง ๆ ดังนั้น ข้อสรุปที่วาดไว้จึงกว้างขึ้น ตัวอย่าง เช่น เราอาจคิดว่านักการเมืองทุกคนเห็นแก่ตัว หลังจากที่เราได้เห็นนักการเมืองหลายคนเห็นแก่ตัว

การคิดแบบนิรนัย — การให้เหตุผลแบบนิรนัยเป็นการคิดที่สลับกระบวนการของการคิดแบบอุปนัย กล่าวคือ เราคิดถึงหลักเกณฑ์สากลไปสู่ข้อสรุปที่แคบลง ตัวอย่าง เช่น นักแสดงหญิงทุกคนสวย ดังนั้น เจนสวย เพราะ เจนเป็นนักแสดงหญิง โดยทั่วไป ในการให้เหตุผลในลักษณะนี้ หลักการทางตรรกะ จะถูกนำมาใช้กับความคิดของเรา

การคิด เพื่อแก้ปัญหา

ปัญหา คือ ความขัดแย้ง หรือ ความแตกต่าง ระหว่างสถานการณ์หนึ่ง กับ อีกสถานการณ์หนึ่ง ที่เราต้องการให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน หรือ เป้าหมายที่ดีกว่า ดังนั้น การคิดเพื่อแก้ปัญหา จึงเป็นการคิดอย่างมีเป้าหมายกำหนด และ เป็นการคิดที่ได้รับแรงจูงใจจากความจำเป็นในการลดความแตกต่างหรือความขัดแย้งระหว่างสถานะของความสัมพันธ์หนึ่ง กับ อีกสถานะหนึ่ง ซึ่งในการแก้ปัญหานั้น เราใช้ข้อมูลที่มีให้เรา จากหน่วยความจำระยะยาว การแก้ปัญหาทำได้โดยการลองผิดลองถูก และ การแก้ด้วยความเข้าใจ John Dewey นักปรัชญา นักจิตวิทยา และนักปฏิรูปการศึกษาชาวอเมริกัน ได้แนะนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่

(1) การระบุปัญหา
(2) การให้คำจำกัดความของปัญหา
(3) การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
(4) การกำหนดสมมติฐานที่สามารถแก้ไขปัญหาได้
(5) การประเมินสมมติฐาน
(6) การตรวจสอบข้อสรุป


การคิด - 001บทความโดย ทีมนักเขียน HW
รับเขียน Essay & Academic Writing
LINE id: @orderwork

🆕 Live Chat 💬 คลิ๊กที่นี่
Facebook Messenger 📱 คลิ๊กที่นี่
📖 คลิ๊กเพื่ออ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ